สมมติ
นี้เป็นหลัก สำคัญของมนุษย์,
ถ้าไม่มีสมมติแล้ว วาจา หรือภาษาที่จะพูดกันก็ไม่มี ทั้งใครอยากจะทำอย่างไร
อันเป็นไปเพื่อเบียด เบียนกันคือฆ่ากันบ้าง ถือเอาของ ๆ กัน ที่เจ้าของไม่
ยินยอมให้บ้าง ประพฤติผิดประเพณี ในทางกามของกันบ้าง หลอกลวงกัน
บ้าง ก็ทำไปอย่างนั้น
ถ้าเป็นเช่นนี้ในหมู่มนุษย์จะเป็นอย่างไร แต่เพราะอาศัยสมมติคำพูดขึ้น
จึงมีภาษาใช้พูดรู้จัก ได้ตามชาติตามถิ่น และสมมมติเป็นผู้นั้นเป็นผู้นี้ ของ
คนนั้นของคนนี้ และ สมมติให้ผู้นั้นเป็นชั้นนั้น ผู้นี้เป็นชั้นนี้
ผู้นั้นมีหน้าที่อย่าง นั้น ผู้นี้มีหน้าที่อย่างนี้ คนนั้นควรทำอย่างนั้น
คนนี้ควรทำอย่างนี้เป็น ต้น
เมื่อใครได้รับสมมติอย่างไรก็ปฏิบัติไปตามสมมติอย่างนั้น สิ่งใด
สมมติว่าเป็นของใครโดย ชอบธรรม ก็ยอมรับและถือว่าเป็นของผู้นั้น,
ไม่เบียดเบียนกาย และชีวิตของกันและกันตลอดถึงด่าว่าด้วยใจร้ายไม่ถือเอา
ของ ๆ กันที่เจ้าของไม่ยินยอมให้ ไม่ประพฤติผิดประเพณีในทางกาม
ไม่หลอกลวงกันดังนี้ เป็นต้น
หมู่คนก็จะอยู่กันด้วยความสงบและเป็นสุขตามชั้นตามภูมิ ศีล ๕
ที่ท่านบัญญัติไว้ เมื่อพิจารณาดู น่าจะเห็นว่า ๔ ข้อข้างต้นก็เพื่อไม่ให้
ประพฤติผิดสมมติต่อกัน และกัน ส่วนข้อ ๕ ก็เพื่อไม่ให้มึนเมาเสียสติ และ
ประพฤติล่วง ๔ ข้อข้างต้นนั้น และท่านบัญญัติไว้เป็นสาธารณะทั่วกันทุกชั้น
ทุกชาติทั่วโลก
ผู้ได้รับสมมติอย่างไร รู้สมมติแล้วรักษาสมมติประพฤติตามสมมตินั้น ๆ ย่อมมีความละอายใจ ยับยั้ง ไม่ประพฤติ
กรรมที่ไม่สมควรตามอำนาจของความอยาก อันเป็นไปเพียงตามความยึดถือ
กายเท่านั้น ผู้เช่นนี้ชื่อว่า เป็นผู้ดีโดยสมมติ ผู้ประพฤติตรงกันข้าม ก็ชื่อ
ว่าเป็นผู้ชั่วโดยสมมติ
ถ้าใครประพฤติชั่ว ผิดจากสมมติย่อมทำความเป็นไปของมนุษย์ ให้ไม่มี
ระเบียบเรียบร้อยอากูล ยุ่งเหยิง และเดือดร้อนต่าง ๆ มากบ้าง น้อยบ้าง
แล้วแต่ความประพฤติผิด สมมติจะมีขึ้น
แต่ความดีตามสมมตินั้น ถ้าถือสมมติไม่ลงกันก็ก่อความเดือดร้อนแก่กัน
และอาจแก้แค้นตอบแทนกัน ไม่อยู่ด้วยความสงบสุขได้
เช่นคนบางพวกรวบรวมกำลังได้มากแล้ว แย่งอำนาจจากอีกฝ่ายหนึ่งได้
ก็สมมติว่าดีกันในพวก ส่วนพวกที่ไม่เห็นด้วยก็ว่าไม่ดี พวกที่มีกำลังและ
อำนาจมากรุกรานพวกที่มี กำลังและอำนาจน้อยได้ ก็สมมติว่าดีในพวก ส่วน
พวกที่ถูกรุกรานก็ว่า ไม่ดี คนที่ฆ่าและทำร้ายเขาได้มาก ก็ว่าเป็นคนเก่งใน
พวกที่เห็นเช่นนั้น
ส่วนพวกที่มีเมตตา กรุณาก็เห็นว่าเป็นคนใจร้าย ไม่มีธรรมของมนุษย์
เป็นต้น สมมตินั้นก็ไม่ได้สมมติที่อื่น ย่อมสมมติที่กายคือปัญจขันธ์นี้เอง
กายนี้เองเป็นที่ตั้ง รับสมมติ เมื่อกายนี้จำต้องตาย ผู้ยึดสมมติอันมีกาย
เป็นที่รับ ก็ต้องตายด้วย จึงไม่พ้นมัจจุราชไปได้.
( วชิร. ๓๔๕-๓๔๖ ).
สมมติสัจจะ
จริงตามสมมติก็คือ คนที่เกิดมาตั้งต้นแต่เป็นผู้หญิง เป็นผู้ชายเป็นเด็กเล็ก
เด็กใหญ่ เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นผู้ใหญ่ เป็นคนแก่ หรือเป็นคนสามัญ
เป็นคนชั้นกลาง เป็นคนชั้นสูง เป็นเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ เป็นเสมียน
เป็นพนักงาน เป็นปลัดกรม เป็นเจ้ากรม เป็นรัฐมนตรี
เป็นายกรัฐมนตรี เป็นผู้สำเร็จราชการ เป็นผู้อยู่ในปกครองเขา
เป็นผู้ปกครองเขาต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นสมมติสัจจะ สภาพที่
เป็นจริงโดยสมมติ
เพราะเขาสมมติให้ เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นจนถึงผู้ที่บวชเป็นภิกษุ
สามเณร นี่ก็เป็นสมมติสัจจะ เพราะอะไร ?
เพราะแต่ก่อนเราเป็นคนที่ยังไม่ได้บวช ครั้นมาขอบวชแล้ว
แสดงคำขอแล้ว สงฆ์ประกาศกันยอมยกให้เป็นผู้บวช ก็เป็นภิกษุ
หรือเป็นอุปสัมบันขึ้น นี่เป็นสมมติสัจจะ
จริงโดยสมมติเหมือนกัน เป็นชาติกษัตริย์ ชาติพราหมณ์ เป็นชาติเวศย์
เป็นชาติปุกกุสะ เป็นชาติจัณฑาล ก็เป็นสมมติสัจจะ แต่สมมติสัจจะ
สภาพที่จริงโดยสมมติ จะไม่ถือก็ไม่ได้ เพราะถ้าไม่ถือก็ยุ่งกันหมด
คนขอทานหรือคนยากจนขัดสน คนโง่มีอายตนะภายในภายนอกเป็นต้น
เหมือนกันก็จริง แต่ถ้าจะไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือนายกรัฐมนตรี
ก็ทำไม่ได้ พระเจ้าแผ่นดิน หรือนายกรัฐมนตรี
จะไปเป็นขอทาน ก็ผิดสมมติสัจจะเป็นไปไม่ได้ พวกโจร พวกขโมย พวก
ปล้น พวกฉ้อฉลต่าง ๆ โดยปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ก็มีขันธ์ ธาตุ
อายตนะ เหมือนกันกับคนซื่อสัตย์สุจริต คนซื่อสัตย์สุจริต
ก็มี ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เหมือนกันกับคนขโมย ปล้น ฉ้อฉลเบียดบัง
อะไรต่าง ๆ แต่โดยสมมติแล้วไม่เหมือนกันเพราะพวกขโมยเป็นพวกผู้ร้าย
พวกที่ทำหน้าที่ปกครอง เขาสมมติกันว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นนายกรัฐมนตรี
เป็นรัฐมนตรี เป็นอธิบดีหรืออะไรก็ว่ากันไป
แต่ไม่ใช่เป็นผู้ร้ายมีขโมยเป็นต้น จะควรเป็นผู้ร้ายเสมอไป หรือต่อไป
เพราะคนเป็นผู้ร้ายนั้น ทำผิดหน้าที่ของมนุษย์ผิดสมมติสัจจะมาแล้ว ถ้ายัง
ขืนทำอยู่ ก็ทำผิดสมมติสัจจะอยู่นั่นเอง
ถ้าต่างฝ่ายต่างทำถูกตามสมมติแล้ว การงานของโลกหรือความเป็นไป
ของโลก ก็จะไม่ยุ่งเหยิง จะเรียบร้อย
แต่ถ้าทำผิดสมมติ แล้ว มันก็ยุ่ง
เช่นคนเป็นข้าราชการมีหน้าที่ ที่ปกครองตามหน้าที่ตามสมมติสัจจะ แต่ถ้า
ไม่ทำตามหน้าที่ ไปเป็นขโมย ปล้น ฉ้อฉล แย่งชิง หรือเบียดบัง ฉ้อ
ราษร์ บังหลวงนี่ผิดสมมติสัจจะ และผิด ๒ ประการ คือผิดหน้าที่ของมนุษย์
ด้วย ผิดหน้าที่ที่เขาแต่งตั้งด้วย การงานก็ยุ่งเหยิง ดังที่เห็นกันอยู่
เพราะฉะนั้น สัจจะท่านจึงแยกออกเป็น ๒ คือ
สมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ท่านให้รู้จักไว้ ใครมีหน้าที่ที่ได้สมมติเป็น
อะไรก็ประพฤติให้ถูกตาม สมมติอย่างนั้น
ถ้าประพฤติผิดไปจากสมมติสัจจะก็จะเกิดการยุ่งยากการงานก็จะดำเนิน ไม่ได้
เรียบ ร้อย ประเทศหนึ่งก็เป็นสมมติของคนชาติหนึ่ง อีกประเทศหนึ่ง
ก็สมมติว่าเป็นของคน อีกชาติหนึ่ง แต่ถ้าคนในประเทศนั้น ๆ
ไม่ถือสมมติสัจจะไปรุกรานอีกประการ หนึ่ง ไปแย่งเขา ฝ่ายเจ้าของก็ไม่ยอม
ก็เกิดสู้กัน นี่ผิดสมมติสัจจะ ถ้าสมมติกันไว้อย่างไรแล้ว รักษากันอยู่อย่าง
นั้น ด้วยความยินยอมพร้อมใจกัน ก็เรียบร้อย
ศีล ๕ ที่ท่านบัญญัติไว้ก็เพื่อให้รักษาสมมติสัจจะ
เช่น : เว้น ฆ่าสัตว์ เพราะสัตว์คนหนึ่ง ตัวหนึ่ง เขาก็รักชีวิต และได้ชื่อว่า
เป็นผู้หนึ่ง ๆ อยู่ด้วยกัน เมื่อคนไม่ถือสมมติสัจจะไปฆ่าเขา เขาก็เป็นคน
หนึ่งเราก็เป็นคน หนึ่ง เราไปฆ่าเขา หรือเขาฆ่าเรานี่ทำผิดสมติสัจจะ
ก็จะเกิดการเดือดร้อน ยุ่งเหยิง
แต่ความจริงตามปรมัตถสัจจะร่างกายก็มีธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ
อาการ เหมือนกันนั่นเอง ร่างกายเราร่างกายเขาก็เป็นธาตุอันเดียวกัน เป็น
แต่แยกออกไปเป็นส่วนใน คราวหนึ่งเท่านั้น แล้วก็จะรวมกันเข้าอีก
แล้วก็จะแยกออกไปอีก
ทรัพย์สิน ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลก ความจริงแต่เดิมไม่ใช่เป็นของ
ใคร เป็นของประจำโลก ของสำหรับโลก แต่เมื่อใครได้ไว้อยู่ในปกครอง
ของตัว ก็สมมติว่าเป็นของผู้นั้น นี่เป็นสมมติสัจจะ เมื่อผู้อื่นต้องการมาแย่ง
ชิงปล้นสดมภ์ ยักยอกหลอกลวงอะไรต่าง ๆ เอาไป นี่ทำผิดสมมติสัจจะก็ยุ่ง.
กามสมาจาร ความประพฤติในทางกาม ตามธรรมดาก็เป็นของ
ประจำโลกไม่ใช่ของใคร แต่เมื่อสมมติว่า คนนั้นเป็นผัวคนนี้ คนนี้เป็นเมีย
คนนั้น คนนั้นเป็นลูกคนโน้น นี่เป็นสมติสัจจะ เมื่อใครประพฤติทางกาม
ล่วงละเมิดของกันและ กัน เป็น กามมิจฉาจาร คือประพฤติ
ผิดทางกามจึงเกิดยุ่งเหยิงกันขึ้น.
การหลอกลวงกันก็เหมือนกัน ตามความเป็นจริง โลกทั้งหมด
แสดงความจริงอยู่เสมอ แสดงอยู่ในตัว แม้คนเราที่เกิดมาแล้วจะเป็นไป
อย่างไร ในที่สุดตายก็เป็นไปตามเรื่องราว แต่เพราะคนนั้นแหละ มีธาตุรู้
และรู้ผิดจากความเป็น จริงก็เกิดหลอกลวงกันขึ้น จริงอย่างหนึ่งบอก
ไปเสียอีกอย่างหนึ่ง ให้ผิดจากความจริง ไป หรือไม่เป็นจริงอย่างนั้นแต่ไป
บอกว่าเป็นความจริง นี่ผิดสมมติสัจจะ ก็ทำให้เข้าใจผิด ทำให้ยุ่ง.
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/agile/2009/04/01/entry-1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น