1. โลภะ คือ ความโลภ ความอยากได้ความเพลิดเพลินยินดี ความยึดเหนี่ยวทางใจ
2. โทสะ คือ ความโกรธ ความขัดเคืองใจ ความเศร้า ความเสียใจ ความกลัว ความทุกข์ทางใจทั้งหลาย
3. โมหะ คือ ความหลง ความไม่รู้ธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง อวิชชา
จิตเป็นประภัสสรผ่
ราคะ โทสะ โมหะ อกุศลมูล 3 ตัวนี้ เมื่อมีเหตุปัจจัยประสมประสานกั
อุปกิเลส ๑๖
พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ ป.ธ.๙)
วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
อุปกิเลส ทั้ง 16 ประการนี้ แม้ประการใดประการหนึ่ง
เมื่อเกิดขึ้นในใจแล้วก็จะทำให้
และจะส่งผลให้เจ้าของใจหมด
เกิด ความ เร่าร้อน หรือเกิดความฮึกเหิมทะนงตัว
เต้นไปตามจังหวะที่อุปกิเลสนั้
เมื่อเราฝึกตามดูจิต จะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น เราจะรู้ว่าปกติเรามักจะมี
ต่อไปนี้ คืออุปกิเลสทั้ง 16
1. อภิชฌาวิสมโลภะ
คือ ความละโมภ มักอยากได้ อยากมี อยากเป็น อย่างไม่มีความพอ เมื่อเราอยู่ในโลกนี้ มีร่างกาย เราก็ต้องอาศัยปัจจัย 4 ได้แก่ ผ้านุ่งห่ม อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เป็นต้น เหล่านี้เป็นของจำเป็น และใครๆ ก็ต้องอยากมี ถ้าเรามีสติปัญญารู้จักตัวเอง และมีความสันโดษ ยินดีในสิ่งที่ได้ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ มันก็ไม่รบกวนจิตใจของเรา เราก็จะไม่คิด อยากได้อะไรมากมาย
แต่ถ้าเรามีอุปกิเลสตัวนี้เกิ
2. พยาบาท
คือความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา ว่าเขา คิดจะทำร้ายจะฆ่าเขา อะไรทำนองนี้ บางครั้งทำคนอื่นไม่ได้ ก็กลับมาทำ ตัวเอง ตำหนิตัวเอง ทำร้ายร่างกายตัวเอง ในที่สุดก็ฆ่าตัวตาย ทำนองนี้ก็มี นี่คือ อำนาจของพยาบาท ซึ่งเป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
3. โกธะ
คือความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ แต่หายเร็ว ถ้าหายแล้วก็พูดเหมือนเดิม ทำเหมือนเดิม เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น ลักษณะโกรธเฉยๆ โกรธบ่อยๆ อาจจะโกรธมาก แต่ไม่มีพยาบาท ไม่ผูกโกรธ เช่นนี้ก็มี
4. อุปนาหะ
คือการผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรก็โกรธ เป็นทุกข์ แล้วเก็บไว้ ผูกไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม กระทบอารมณ์เมื่อไรก็เอาเรื่
5. มักขะ
คือการลบหลู่คุณท่าน ลบหลู่ความดีของผู้อื่น ปิดซ่อนความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณ กลับนึกตำหนิเขาว่า ให้ของไม่ดีบ้าง ไม่พอบ้าง มีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ ไม่ชอบ เราจะยกเรื่องที่ลด ความดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึ
6. ปลาสะ
คือการตีเสมอ การยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน ยกตัวเองว่า ดีกว่าเขา ชอบตีเสมอ แสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่
7. อิสสา
คือความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ ความรู้สึกว่าเขาได้ดีมากกว่
8. มัจฉริยะ
คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในของที่เรามีอยู่ อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร
9. มายา
คือเจ้าเล่ห์ ไม่จริงใจ คือความหลอกลวง พยายามแสดงบทบาท ตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วมี 1 แต่แสดงด้วยการแต่งตัวบ้าง อะไรๆ บ้าง ให้เขาเข้าใจว่า เรามี 10 เป็นต้น ใจเราคิดตำหนิเขา แต่เวลาพูดแสดงความชื่นชมอย่
10. สาเถยยะ
การโอ้อวดหลอกเขา หลอกเขาด้วยการโอ้อวด ชอบอวดว่าดีกว่า เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่ออยากจะให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวด กิเลสมันมีความสุข ทำนองนี้แหละ
11. ถัมภะ
คือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำให้ แก้ไข ก็ไม่ยอมรับฟัง เป็นต้น
12. สารัมภะ
คือการแข่งดี มุ่งแต่จะเอาชนะ คิดแต่เอาชนะเขาตลอด เช่น เมื่อพูด เถียงกัน ก็จะอ้างเหตุผลต่างๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ไม่ยอมแพ้ ถึงแม้ว่าตัวเองผิด ก็ต้องชนะ การพูดก็ดี การทำก็ดี ต้องเหนือกว่าเขาตลอด
13. มานะ
คือความถือตัว ทะนงตน
14. อติมานะ
คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา ดูถูก ดูหมิ่นคนอื่น
15. มทะ
คือความมัวเมา หลงว่า ยังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป แล้วทำอะไรเกินเหตุ
16. ปมาทะ
คือความประมาท เลินเล่อ ไม่ได้คิดรอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา
ทางกาย มี 3 คือ
1. ไม่ฆ่าสัตว์
2. ไม่ลักทรัพย์
3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
ทางวาจา มี 4 คือ
1. ไม่พูดปด
2. ไม่พูดคำหยาบ
3. ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกร้
4. ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล
ทางใจ มี 3 คือ
1. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุ
2. ไม่จองล้างจองผลาญใคร คือ ไม่พยาบาท ความโกรธยังมี
3. มีความเห็นถูกคือ สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรงตามที่พระพุทธเจ้
นี่ กรรมบถ 10 แบ่งไปตาม กาย วาจา ใจ ก็เอาสติเข้าไปควบคุมว่า ศีล 5 ก็ดี กรรมบถ 10 ก็ดี คุมไว้ไม่ยอมลืม ใหม่ ๆ ก็ลืมบ้าง เป็นของธรรมดา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น